25 พฤษภาคม 2021
น้องๆ วัยเรียน เคยเป็นมั้ย !?
ตั้งใจอ่านหนังสือแต่ก็ยังจำไม่ได้ ลืมในห้องสอบ หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ
ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม อาทิเช่น มีเวลาอ่านน้อย, ไม่มีสมาธิอ่าน อะไรมารบกวนเวลาอ่านหนังสือ, ไม่รู้จำเริ่มตรงไหนก่อน หรือ ไม่รู้ว่าเนื้อหาส่วนไหนสำคัญบ้าง เป็นต้น
และมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมอ่านหนังสือไม่เข้าใจ ทำไมอ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ หรือ ทำยังไงให้ไม่ลืมในห้องสอบ
วันนี้สถาบันเตรียมโดม ได้มี เคล็ดลับวิธีอ่านหนังสือให้จำได้แม่นๆ หรือวิธีอ่านหนังสือแล้วไม่ลืม ที่อยากจะมาบอกต่อให้กับน้องๆ
เผื่อว่า ช่วงก่อนสอบ จะนำไปใช้กันนะ :)
ในระยะเวลาที่จำกัด เราไม่ควรเริ่มอ่านหนังสือ หน้าแรกๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้บทนำ หรือประวัติของผู้แต่ง จากการอ่าน แต่ในทางกลับกันการอ่านหนังสือให้เข้าใจง่ายขึ้นนั้น ควรเริ่มอ่านจากบทสรุป หรือบทส่งท้ายในช่วงท้ายของหนังสือ เนื่องจากหนังสือส่วนใหญ่จะมีการเขียนอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคซ้ำๆ เพื่อย้ำให้เข้าใจ
โดยปกติผู้เขียนมักจะสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาอีกครั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น และเวลาคุณครูสอนก็จะทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ไวขึ้น
การไฮไลต์นั้น เป็นการบอกกับผู้อ่านว่าสิ่งไหนที่จำเป็นต้องจำ หรือสิ่งไหนไม่จำเป็นต้องจำ เพราะหนังสือมีเนื้อหามากมายให้จำทั้งหมดคงไม่ไหว ดังนั้นเราควรใช้ ปากกาไฮไลต์ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราจับใจความสำคัญของหนังสือได้ดีขึ้น ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือ การไฮไลต์ข้อความหัวข้อสรุป หรือใจความสำคัญเด่นๆ
เมื่อเราอ่านหนังสือทบทวนอีกครั้ง เราจะเห็นข้อความที่ไฮไลต์ไว้ก่อน หลังจากนั้นเราก็จำนึกเรื่องราว หรือเนื้อให้ในบริบท หรือ หัวข้อนั้นๆ โดยอัตโนมัติ แต่หากไม่จำไม่ได้การอ่านครั้งที่ 2 ก็จะทำให้จำได้แม่น และง่ายมากขึ้น
การดูสารบัญและหัวข้อย่อย ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และ ลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้มากขึ้น เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ
ไม่ควรจำความรู้ทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่คุณครูสั่งเพียงล่มเดียวเท่านั้น ลองเปิดโลกอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลเพิ่มดูบ้าง หรือหาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู
ซึ่งหนังสือที่เขียนในเรื่องเดียวกัน แต่ผู้เขียนเป็นคนละคนกัน บางเล่มอ่านเนื้อหาแล้วเข้าใจง่ายกว่าหนังสือเล่มแรก, อาจมีภาพประกอบเพิ่มขึ้นมา, มีตัวอย่างที่หลากหลาย และ สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เป็นเรื่องเดียวกัน
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "การอ่านหนังสือทุกคำ" จะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดมากขึ้น แต่จริงๆแล้วเป็นวิธีที่ ผิด! เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไป ทำให้เบื่อง่าย ปวดหัวจากความล้าของสมอง ตาลอยอ่านหนังสือแบบเร่งให้จบๆ ทำให้เนื้อหาไม่เข้าหัว เพราะผู้เขียนส่วนมาก ต้องการที่จะเน้นอธิบายให้เข้าใจ
แต่ใจความสำคัญจริงๆ จะอยู่ที่บทสรุปช่วงท้าย หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูล หลักฐานจนแน่น ซึ่งก็เป็นเรื่องดี และน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นควรเลือกอ่านอันที่น่าสนใจที่สุดเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องอ่านให้ครบ แล้วอ่านบทต่อไปดีกว่า
คนส่วนมากจะไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนสรุปแบบนี้ ช่วยให้เราเข้าใจถึงประเด็นสำคัญของหนังสือ เช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านสรุปของเรา แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง
การจับกลุ่มกัน เพื่อพูดคุย ถึงเนื้อหาของหนังสือที่ต้องอ่าน จะช่วยทบทวน ให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุย ถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถนึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
อย่าเชื่อว่าผู้เขียน ถูกต้องเสมอไป เมื่ออ่านไปแล้ว ลองตั้งคำถามดู เช่น
• ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
• หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
• ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
• ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามไม่จำเป็นต้องยากก็ได้ อาจจะเป็นคำถามง่ายๆ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีการแบบไหนมากกว่า