10 มีนาคม 2022
๑) เฉลย ตอบ ๔ เราผลิตเครื่องสำอางที่มีคุณภาพจนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ
- ตัดตัวเลือก ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๕ ออกก่อน เพราะสังเกตได้ง่ายสุดว่ามีคำที่สะกดผิดข้อละ ๒ คำซึ่งแก้ให้ถูกต้อง ดังนี้
- ข้อ ๒ คำที่ถูกต้อง เจตจำนง ทระนง/ทะนง
- ข้อ ๓ คำที่ถูกต้อง บั้งไฟพญานาค เทโวโรหณะ
- ข้อ ๕ คำที่ถูกต้อง ประณีต กิริยามารยาท
- เหลือข้อ ๑ และข้อ ๔ ต้องมาเปรียบเทียบที่ดีสุด
ข้อ ๑ ระวัง!! บางคนสับสนระหว่าง “ต้นโพ” กับ “ต้นโพธิ์”
“โพแดง” เขียนแบบนี้สะกดตามตัวถึงจะถูกต้อง แต่คนมักเขียนผิดเป็น “โพธิ์แดง”
น้อง ๆไม่สามารถใช้แทนทั้ง ๒ คำได้เพราะบริบทแตกต่างกันความหมายไม่เหมือนกัน
- ในตัวเลือกสะกด “โพธิ์” (มี-ธิ์) ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าไปประทับนั่งตรัสรู้
- ส่วน “โพ” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบจะคล้ายรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง
- ดังนั้นจากบริบทในตัวเลือกคำว่า “รูปโพแดง” เรียกลายที่มีลักษณะรูปคล้ายใบโพหรือหัวใจมีสีแดง
- ส่วนตัวเลือกข้อ ๑ คำว่า “ช่างเจียระไน” เขียนถูกต้องแล้ว
- แตกต่างจากข้อ ๔ ที่เขียนได้ถูกต้องสอดคล้องกับบริบททั้งหมด
- คำว่า “เครื่องสำอาง” “ประกาศเกียรติคุณ” เขียนถูกต้องแล้ว
ดังนั้นตอบข้อ ๔ จึงเป็นคำตอบถูกต้องที่สุด
เฉลยเพิ่มเติมส่วนนี้สามารถข้ามได้
คำอธิบายเฉลยเพิ่มเติม ระหว่าง “ต้นโพ” กับ“ต้นโพธิ์” ต่างกันอย่างไร
อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำที่ออกเสียงว่า “โพ” ๒ คำคือ
“โพ๑” และ“โพธิ์” ให้ความหมาย ดังนี้
(๑) โพ๑: (คำนาม) ชื่อต้นไม้ชนิดFicus religiosa L. ในวงศ์Moraceae เป็นต้นไม้ซึ่งเป็นตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิก็เรียก.
(๒) โพธิ-, โพธิ์: (คำนาม) ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จำพวกโพ. (ป.,ส.).
ความหมายของพจนานุกรมชวนให้สงสัยว่าชื่อต้นไม้ชนิดนี้ต้องเขียนว่า “ต้นโพ” หรือ“ต้นโพธิ์” กันแน่
ดังนั้นขอเล่าก่อนว่า ตามตำนานพระพุทธศาสนาเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีหลายองค์ ยุคละองค์ แต่ละยุค ถ้าพระพุทธเจ้าไปตรัสรู้ใต้ต้นอะไรก็ตาม ต้นนั้นจะกลายเป็น “ต้นโพธิ์” เช่น ไปนั่งใต้ต้นกากะทิง จะเรียกต้นกากะทิงนี้ว่า “ต้นโพธิ์” ย้ำว่า ต้นไม้ชนิดใดก็ตามที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์
ไปนั่งประทับตรัสรู้จะเรียกว่า “ต้นโพธิ์” ส่วนยุคของพวกเราทุกคนเกิดมาในยุคที่ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บังเอิญว่า
เจ้าชายสิทธัตถะไปประทับนั่งใต้ต้น “อัสสัตถะ” (อันนี้ชื่อบาลี)ต้นอัสสัตถะนี้ภาษาไทยเรียกว่า “โพ” หรือต้นโพ ทำให้“ต้นโพ”จึงเป็น“ต้นโพธิ์” ดังที่พจนานุกรมกล่าวไว้ว่า “บัดนี้หมายถึงต้นไม้จำพวกโพ”
สรุปว่า“ต้นโพธิ์”เป็นคำแสดงฐานะของ “ต้นโพ” บอกให้รู้ว่าต้นโพเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เฉพาะพระองค์นี้) เมื่อจะเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ในภาษาไทยจึงต้องเขียนว่า“ต้นโพ”ไม่ใช่“ต้นโพธิ์”แต่อาจพูดเล่นสำนวนได้ว่า “ต้นโพเป็นต้นโพธิ์” (อ้างอิงที่มา ทองย้อยแสงสินชัย) ขอจบท้ายสาระดีๆ ว่า
“ต้นโพ” ก็คือ “ต้นโพ”
“ต้นโพ” ไม่ใช่“ต้นโพธิ์”
แต่ “ต้นโพ” บางต้นเป็น “ต้นโพธิ์” นั่นเอง
๒) เฉลย ตอบ ๑ ผ่อนหนักเป็นเบา ใช้เพื่อบอกจุดมุ่งหมายของการกระทำ ที่มุ่งหวังให้เหตุการณ์หรือสถานการณ์ “ลดความรุนแรงลง” ไม่ได้ใช้บอกความคลี่คลายของเหตุการณ์หรือสถานการณ์โดยตรง
๒ ผ่อนปรน หมายถึง แบ่งหนักให้เป็นเบา, เอาไปทีละน้อย, ขยับขยายให้เบาบางลง
๓ ผ่อนคลาย หมายถึง ลดความตึงเครียด
๔ ผ่อนผัน หมายถึง ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้
๕ ผ่อนส่ง หมายถึง ค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย (สำนวน)
๓) เฉลย ตอบ ๔ พุทธศาสนิกชนมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
๔. เผยแผ่
๑ แน่นหนา แก้เป็น หนาแน่น
๒ เยี่ยงอย่าง แก้เป็น แบบอย่าง
๓ ไหลหลั่ง แก้เป็น หลั่งไหล
๕ ภาพพจน์ แก้เป็น ภาพลักษณ์
๔) เฉลย ตอบ ๒ เขาอุปโลกน์ตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ
๑. “ตบหน้า” แปลว่าตบหน้าจริง ๆ ก็ได้ หรือแปลว่าลบหลู่ให้เสียหน้าก็ได้
๒. ไม่สามารถแปลความหมายเชิงอุปมาได้
๓. “กิน” แปลความหมายได้ทั้ง “รับประทาน” และ “โกงกิน”
๔. “เส้นใหญ่” และ “เส้นก๋วยจั๊บ” สามารถหมายถึง “เส้นก๋วยเตี๋ยว” และ “เส้นสายอิทธิพล” ได้ทั้งสองคำ
๕. คำว่า “สนุก” ในที่นี้ถ้าแปลความหมายนัยตรง คือ “เพลิดเพลินรื่นเริง” แต่ถ้าจะแปลโดยนัยว่า “มีเรื่องยุ่งยาก” ก็ได้เช่นกัน
๕)เฉลย ตอบ ๔ รวบ ๒ มือปืนโหดประกบยิงนายอำเภอ
๑ ไม่รู้ว่าผัวผูกคอตาย หรือ เมีย ผูกคอตาย
๒ ไม่รู้ว่าเซียนชื่อดัง หรือ ไก่ชนชื่อดัง
๓ ไม่รู้ว่าสาวร่ำไห้ หรือ เจ้าของร้านทองร่ำไห้
๕ ไม่รู้ว่าหนุ่มสงขลาดับ หรือ อดีตเมียดับ
๖) เฉลย ตอบ ๑ ตีงูให้กากิน
๒ หมายถึง พูด หรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดีต้องเสียหาย.
๓ หมายถึง ฉวยเอาประโยชน์จากผู้อื่นโดยที่ตนไม่ได้ลงทุนลงแรง.
๔ หมายถึง เอาของมีค่าให้คนที่ไม่รู้ค่าของสิ่งนั้น
๕ หมายถึง ลักษณะของคนที่ดูภายนอกมีท่าทางหงิม ๆ แต่ความจริงฉลาด และมักเลือกของดีไปได้ก่อน
๗) เฉลย ตอบ ๔ ตัวเองสอบตกยังจะเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง เที่ยวอาสาไปติวให้เพื่อนคนอื่นอีกหรือ
๑ หมายถึง ยกเหตุผลมาหว่านล้อม ยกยอก่อน แล้วจึงหันเข้าหาจุดประสงค์
๒ หมายถึง กันท่า หรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการได้สะดวก
๓ หมายถึง พูดขัด หรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่อง
๕ หมายถึง พูดได้แต่ทำไม่ได้ หรือทำไม่เป็น
๘) เฉลย ตอบ ๑ เป็นภาษาระดับทางการ ข้ออื่น ๆ เป็นภาษาระดับกึ่งทางการและระดับกันเอง
๒ สังเกตจาก เจ้าคอร์ติซอลที่ว่านี้, เช้า ๆ, ของเรา, พร้อมรับวันใหม่
๓ สังเกตจาก เผลอวีน, พาลหงุดหงิด
๔ สังเกตจาก ฉลาดมาก, เซฟพลังงาน
๕ สังเกตจาก นี้เอง, แถมยัง, จัดหนักจัดเต็ม
๙) เฉลย ตอบ ๕ เป็นภาษาระดับทางการ ข้ออื่น ๆ เป็นภาษาระดับกึ่งทางการและระดับกันเอง
๑ สังเกตจาก จะว่าไป, นิสัยของต้นไม้
๒ สังเกตจาก ผลิดอกออกใบ
๓ สังเกตจาก แดดเช้า, แดดบ่าย
๔ สังเกตจาก เลี้ยง...ให้รอด, เรียกว่า
๑๐) เฉลย ตอบ ๕ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักจนต้องยุติปฏิบัติการลงชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย
สังเกตจากคำกริยา เกิด, ยุติ ข้ออื่น ๆ เป็นนามวลี
๑๑) เฉลย ตอบ ๒ เป็นนามวลี
๑ สังเกตจากคำกริยา เกิด, ยุติ ข้ออื่น ๆ
๓ สังเกตจากคำกริยา ลด
๔ สังเกตจากคำกริยา ลด
๕ สังเกตจากคำกริยา เป็น
๑๒) เฉลย ตอบ ๑.ไปให้พ้นหน้าฉันเดี๋ยวนี้นะ
เจตนาในโจทย์ = บอกให้ทำ (บอกโดยอ้อม) ตรงกับตัวเลือก ๑ ซึ่งแสดงเจตนาบอกให้ทำอย่างตรงไปตรงมา
ส่วนตัวเลือกที่ ๒ และ ๕ เป็นเจตนาถามให้ตอบ (ให้ผู้รับสารคิดหาคำตอบ) ส่วนตัวเลือก ๓ และ ๔ เป็นเจตนาแจ้งให้ทราบ
๑๓) เฉลย ตอบ ๓ คำไทยใช้ว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ ผู้ฝึกสอน
๑ แคมปัส ใช้ว่า วิทยาเขต, บริเวณ
๒ ดีไซน์ ใช้ว่า ออกแบบ
๔ ไม่มีคำไทยใช้แทนได้ทั้งสองคำ
๕ เปอร์เซ็นต์ ใช้ว่า ร้อยละ
๑๔) เฉลย ตอบ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ ข้ออื่น ๆ ใช้ ทรง ซ้อนกับคำกริยาราชาศัพท์หรือ ทรงมี+คำนามราชาศัพท์
๑ แก้เป็น ตรัส
๓ แก้เป็น พระราชทาน
๔ แก้เป็น ทรงศึกษา หรือ เสด็จไปศึกษา
๕ แก้เป็น มีพระนามเดิม
๑๕) เฉลย ตอบ ๔ อีกไม่กี่เดือนก็จะเรียนจบมัธยมแล้วใช่ไหม คิดไว้หรือยังว่าจะสอบเข้าคณะอะไร
แสดงเจตนา แนะนำ (อย่างสุภาพ)
ข้ออื่น ๆ เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ
๑๖) เฉลย ตอบ ๕ ไม่เป็นไร ครูจะให้โอกาสเธอมาส่งวันพรุ่งนี้ได้ อย่าให้เกิน ๙ โมงล่ะ
๑. เป็นการตำหนิ ไม่น่าจะตอบว่าขอบคุณ
๒. เป็นการบอกโทษ ไม่น่าจะตอบว่าขอบคุณ
๓. ไม่ได้เสนอทางออก ไม่น่าจะตอบรับเรื่องเวลาส่ง
๔. ขอให้แสดงเหตุผล ไม่น่าจะตอบรับเรื่องเวลาส่ง
๑๗) เฉลย ตอบ ๒ เยาะเย้ย
๑ สังเกตจาก รักก็คือรัก หลงก็คือหลง (ไม่ต้องอธิบาย เพราะพูดไปก็คงไม่มีใครเข้าใจ)
๓ สังเกตจาก ใจสลาย, แหลก
๔ สังเกตจาก ใจสลาย, แหลก
๕ สังเกตจาก เกยตื่นน้ำตาย
๑๘) เฉลย ตอบ ๕.วรางค์เลือกเรียนสายศิลป์-ภาษามาแต่แรก คงไม่เลือกสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์หรอก
๑. คุณสมบัติของกุลสตรีไม่ได้หมายถึงความสามารถในการทำอาหารเพียงอย่างเดียว
๒. ไม่จำเป็นว่าคนที่เลือกเรียนคณะอักษรศาสตร์ต้องไม่เก่งเลข
๓. ความเป็นสุภาพบุรุษเป็นเรื่องการแสดงออก แต่ความเจ้าชู้เป็นนิสัยใจคอ
๔. การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ดี ไม่ได้แปลว่าจะทำสิ่งอื่นที่ใช้ทักษะคล้าย ๆ กันได้ไม่ดีไปด้วย
๕. คนที่ตั้งใจจะสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาที่จำเป็นต้องใช้สอบไม่มีสอนในสายศิลป์-ภาษา
๑๙) เฉลย ตอบ ๕ ๕-๓-๔-๒-๑
หัวเรื่อง เป็นเรื่องชาวจีนในประเทศไทย จึงควรกล่าวถึง ชาวจีนในประเทศไทย ว่ามาจากไหน (๕) และแบ่งเป็นกี่กลุ่ม (๓) เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยกล่าวถึงสาเหตุของการอพยพ (๔) ส่วนการแบ่งกลุ่มคนจีนในประเทศไทยตามลำดับเวลานั้นก็ควรจะเกล่าถึงจีนเก่า (๒) ก่อนจีนใหม่ (๑) / ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือสาเหตุเรื่อง “ความไม่สงบภายในประเทศ” ในข้อ (๔) ยังสัมพันธ์กับข้อความ “จีนเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ในข้อ (๑) ซึ่งเป็นประโยคสุดท้ายด้วย
๒๐) เฉลย ตอบ ๔.ข, จ, ค, ก, ง
ลำดับข้อความที่ถูกต้อง คือ ข) มนุษย์ใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายในภาษาต่างๆ จ) ไม่ว่าจะใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง หรือใช้อักษรภาพแทนคำ ค) แต่ที่จริงแล้วคณิตศาสตร์ก็เป็นเรื่องของระบบสัญลักษณ์ ก) โดยเฉพาะการใช้ตัวเลขแทนจำนวนนับและแทนลำดับที่ ง) นอกจากนี้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ก็ยังมีความหมายที่ต้องทำความเข้าใจ
๒๑) เฉลย ตอบ ๒ ระบบสัญลักษณ์ของมนุษย์
บทความนี้กล่าวถึงทั้งภาษาและคณิตศาสตร์ในฐานะระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อความหมายซึ่งตรงกับตัวเลือกข้อ ๒
๒๒) เฉลย ตอบ ๔ เนื้อเรื่อง
สังเกตจากเนื้อความที่เป็นการให้ข้อมูล ไม่ได้มุ่งเน้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจแบบความนำ และไม่ได้เป็นการสรุปสาระสำคัญ ประมวลความคิด ทิ้งท้าย หรือฝากข้อคิดแบบส่วนลงท้าย
๒๓) เฉลย ตอบ ๑ ข้ออื่น ๆ เป็นการบรรยาย
(๑) สังเกตจาก อบอวลไปด้วยกลิ่นธูป, แสงเทียนอันส่องสว่าง
(๒) สังเกตจาก แสงแดดรำไร, ทะลุผ่าน, อ่อนช้อยสวยงาม
๒๔) เฉลย ตอบ ๕ การบรรยายและการพรรณนา
บรรยายเหตุการณ์การเดินทาง, ส่วนที่เป็นการพรรณนา เช่น วิ่ง...อย่างใจเย็น, ถนน...วิ่งผ่านสวน, แสงแดดเริ่มเป็นสีทอง, กระวนกระวาย
๒๕) เฉลย ตอบ ๕ สรุป สนับสนุน สนับสนุน
กำเเพงกันคลื่นอาจไม่ใช้ทางเลือกที่ดีที่สุดของการป้องกันการกัดเซาะชายหาด = สรุป
การสร้างกำแพงทำให้หาดทรายของชุมชนหายไป = สนับสนุน ๑
ทำให้คลื่นเกิดการเลี้ยวเบนจนไปกัดเซาะชายฝั่งบริเวณปลายกำแพงแทน = สนับสนุน ๒
๒๖) เฉลย ตอบ ๒ การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังเพื่อรักษามะเร็งทำให้เกิดความคล่องตัวระหว่างการให้ยา ลดความเจ็บปวด และลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อและผลข้างเคียง ช่วยประหยัดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล (สนับสนุน) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรักษามะเร็งในยุคนี้ (สรุป)
๑ อย่ามองว่าการไปหาหมอเพราะก้างปลาติดคอเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุ (สรุป) ก้างปลาเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเป็นแผลบริเวณหลอดอาหารหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อ เป็นหนองลามเข้าไปในคอ หรือลามเข้าไปในช่องอกได้ (สนับสนุน)
๓ คุณแม่ควรระมัดระวังไม่ให้ลูกนั่งแบะขาเป็นท่า W (สรุป) การนั่งแบะขาออกด้านข้างเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสะโพก เข่า และข้อต่อของเด็ก ทำให้เด็กมีปัญหาในการเดินและการทรงตัว รวมทั้งมีกล้ามเนื้อหลังที่ไม่แข็งแรง (สนับสนุน)
๔ การพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเปรียบเสมือนเป็นยาอายุวัฒนะชั้นดี (สรุป) เมื่อเรานอนดึกสมองจะทำงานไม่ได้ดั่งใจ คิดอะไรไม่ออก ระบบในร่างกายรวนและไม่ได้ซ่อมแซมตัวเอง ผิวพรรณก็ไม่สดใส อีกทั้งยังทำให้เกิดความเครียด และส่งทางอ้อมทำให้อ้วนด้วย (สนับสนุน)
๕ สุราถือเป็นคู่อริตัวร้ายที่สุดของตับเลยก็ว่าได้ (สรุป) ยิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไร ตับก็ยิ่งจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักเพื่อดูดซับและกำจัดแอลกอฮอล์ออกไปจากเลือด และมีโอกาสเกิดอาการอักเสบได้มากขึ้น จนอาจพัฒนาไปเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด (สนับสนุน)
๒๗) เฉลย ตอบ ๓ ส่วนที่ (๓)
สังเกตจาก น่าสนใจ, ...กว่าปกติ
๒๘) เฉลย ตอบ ๕ ส่วนที่ (๕)
สังเกตจาก ควรเปลี่ยน...เสียใหม่
๒๙) เฉลย ตอบ ๓ เพราะเหตุใด “สมรสเท่าเทียม” จึงทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมได้มากกว่า “พ.ร.บ. คู่ชีวิต”
๑ ไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งของข้อความ เพราะถกเถียงกันไปไกลเกินกว่านั้นแล้ว
๒ ไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งของข้อความ แต่ผู้เขียนเสนอให้ได้เหมือนกันกับ “สามีภรรยา”
๔ ไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งของข้อความ แต่ผู้เขียนเสนอให้ใช้คำว่า “คู่สมรส”
๕ ไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งของข้อความ แต่ผู้เขียนเห็นว่าการใช้ “คู่ชีวิต” จะยิ่งสร้างความแตกต่างและตอกย้ำอคติทางเพศ ว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่มีสิทธิเท่ากันกับ ชาย และ หญิง
๓๐) เฉลย ตอบ ๔ การปักชื่ออาจกระทบต่อสวัสดิภาพ เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กได้
๑ เป็นการสนับสนุนให้ปักชื่อนักเรียนบนเครื่องแบบ เพราะบอกข้อดี
๒ เป็นการสนับสนุนให้ปักชื่อนักเรียนบนเครื่องแบบ เพราะบอกข้อดี
๓ เป็นการสนับสนุนให้ปักชื่อนักเรียนบนเครื่องแบบ โดยเปรียบเทียบ “ข้าราชการ” ซึ่งจริง ๆ แล้วเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะข้าราชการอยู่ในฐานผู้ให้บริการจึงต้องามารถระบุตัวตนได้
๕ เป็นการสนับสนุนให้ปักชื่อนักเรียนบนเครื่องแบบ เพราะอ้างว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งเป็นตรรกะวิบัติ และโจมตีข้อสนับสนุนของอีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่มีน้ำหนักมากพอเพราะเป็นเพียงกรณีเดียว
๓๑) เฉลย ตอบ ๓ ฤดูกาลล่องแก่งจะเริ่มราวเดือน มิ.ย. ไปจนถึงปลายเดือน ต.ค. แต่กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในแก่ง
๑ โน้มน้าวใจด้วยการบอกชื่อเสียงและกระตุ้นให้อยากเอาชนะ
๒ โน้มน้าวใจด้วยการบอกข้อดี
๔ โน้มน้าวใจด้วยการบอกว่าเป็นทางแก้ไขปัญหา
๕ โน้มน้าวใจด้วยการบอกสิทธิประโยชน์
๓๒) เฉลย ตอบ ๑ ประวัติของเกลือตานี
๒ สังเกตจาก กลมกล่อม, รสเค็ม
๓ สังเกตจาก คุณภาพดีแตกต่างจากที่อื่น, ไม่ทำให้อาหารออกรสขม
๔ สังเกตจาก นิยมนำมาหมักปลาทำน้ำบูดู ทำปลาแห้ง ดองผัก และผลไม้, สะตอดอง
๕ สังเกตจาก ปัจจุบันการทำนาเกลือของชาวปัตตานี
๓๓) เฉลย ตอบ ๓ มีรสกลมกล่อม
ที่ไม่ตอบ ๔ เพราะในบทอ่าน สิ่งที่มีรสไม่ขมคืออาหารที่หมักดองด้วยเกลือตานี
๓๔) เฉลย ตอบ ๔ การเล่าเรื่องผีมีทั้งแบบปากต่อปาก และเล่าผ่านสื่อต่าง ๆ
๑. ในบทความกล่าวชัดเจนว่าฮอร์โมนเซโรโทนินเป็นฮอร์โมนที่สร้างความรู้สึกอิ่มเอมพึงใจ
๒. บทความกล่าวเพียงว่าคนไทยสมัยก่อนเชื่อเรื่องผีกระสือ แต่ไม่ได้ระบุว่าคนไทยสมัยนี้ไม่เชื่อ
๓. บทความใช้คำว่า “อ้างว่า” แปลว่าเป็นเพียงการกล่าวอ้าง ไม่ได้แปลว่าจะต้องจริงทุกกรณี
๔. “การเล่าสู่กันฟัง” กินความถึงการเขียนถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
๕. ในบทความกล่าวชัดเจนว่า เมื่อมนุษย์เกิดความกลัวจะมีการหลั่งของออร์โมนที่ทำให้เครียด ความเครียดจึงเป็นส่วนหนึ่งของความกลัว
๓๕) เฉลย ตอบ ๕ ความรู้สึกกลัวเป็นปฏิกิริยาทางสมอง แต่สิ่งที่ทำให้กลัวเป็นเรื่องเฉพาะตัวและเฉพาะกลุ่ม
ใจความสำคัญที่สุดของบทความอยู่ที่ประโยค “ถึงแม้ความกลัวจะเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม แต่ความรู้สึกว่าสิ่งใดน่ากลัวไม่น่ากลัวกลับเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลและเรื่องเฉพาะวัฒนธรรมจนบางครั้งคนอื่นก็ยากที่จะรู้สึกเช่นเดียวกัน” ซึ่งตรงกับตัวเลือกข้อ ๕
๓๖) เฉลย ตอบ ๔ เพราะเป็นป่าดิบชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
๓๗) เฉลย ตอบ ๒ ผู้คนยากจนและคนผิวสีต้องเดินทางออกไปทำงานโดยไม่มีมาตรการป้องกันเพราะไม่มีทางเลือก
๑ ผิดเพราะคนผิวขาวที่มั่งคั่งไม่ได้ถูกบังคับ แต่เลือกได้
๓ ไม่ปรากฏในบทอ่าน
๔ ไม่ปรากฏในบทอ่าน
๕ ผิด เพราะมีแนวโน้มที่จะป่วยและเสียชีวิตสูงกว่า
๓๘) เฉลย ตอบ ๓ การตัดสินใจออกไปพูดได้ด้วยตนเองเป็นขั้นตอนสำคัญในการเอาชนะความกลัว
๑ ผิด เพราะการบังคับ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
๒ ผิด เพราะไม่ได้เปล่งเสียง แต่เน้นให้ตัดสินใจและสื่อสารกับตนเอง
๔ ผิด เพราะในบทอ่านไม่ได้บอกว่าแก้ไขง่ายหรือยาก
๕ ผิด เป็นสิ่งที่ต้องหาให้เจอและจัดการให้ได้
๓๙) เฉลย ตอบ ๒ แนะนำเทคนิคการเอาชนะความกลัวการพูดในที่ชุมนุมชน
๑ ผิด เพราะบอกข้อเสีย
๓ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน
๔ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน (แต่มีการให้กำลังใจ)
๕ ผิด เป็นข้อเสียงที่มุ่งสื่อสารกับนักเรียน ไม่ใช่ครู
๔๐) เฉลย ตอบ ๕ โต้แย้งว่าความเป็นไทยแท้นั้นไม่มีอยู่จริง
เป็นการโต้แย้ง สังเกตจาก ไม่มีแล้ว, ดังนั้นอย่าไปจริตวิตก…, เพราะความจริงไทยแท้คืออะไรมันไม่มี
๔๑) เฉลย ตอบ ๑ อธิบายความเป็นมาของแกงรัญจวน
๒ ผิด เพราะกล่าวถึงหม่อมเจ้าหญิงแย้มเยื้อนท่านเดียว
๓ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน
๔ ผิด เพราะกล่าวถึงวิธีทำแต่พอสังเขปเท่านั้น
๕ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน
๔๒) เฉลย ตอบ ๔ เปิดเผยข้อเท็จจริงทางดาราศาสตร์ให้คนทราบว่าบนท้องฟ้ามีกลุ่มดาว ๑๓ ราศี
๔ สังเกตจาก “ความจริงว่า…”
๑ ผิด เพราะไม่ครบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
๒ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน
๓ ผิด เพราะไม่ปรากฏในบทอ่าน
๕ ผิด เพราะผู้เขียนบอกว่าไม่เกี่ยวข้องกัน สังเกตจาก “ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักโหราศาสตร์เขาว่ากันไปก็แล้วกัน”
๔๓) เฉลย ตอบ ๑ ปัจจุบันคนไม่ใช้คำว่าเหี้ยเป็นคำด่าอีกต่อไปแล้ว
เพราะผู้เขียนฟังแล้วก็ยัง “อดสะดุ้งไม่ได้” อยู่ แสดงว่าน่าจะยังใช้เป็นคำด่าด้วย
๔๔) เฉลย ตอบ ๔ ชอบพูดคำหยาบ
๔ เพราะถ้าผู้เขียนขอบพูดคำหยาบก็คงไม่กล่าวว่า “อดสะดุ้งไม่ได้”
๑ อนุมานจาก การอยู่มาจนเห็นวิวัฒนาการ
๒ อนุมานจากตัวอย่างต่าง ๆ
๓ อนุมานจากความสนใจจะเขียนเรื่องนี้
๕ อนุมานจาก “น่าสนใจกว่าที่คิด”
๔๕) เฉลย ตอบ ๓ การห้ามทำแท้งอย่างเข้มงวดทำให้ผู้หญิงต้องลักลอบทำแท้งจนเกิดอันตราย
๓ สังเกตจาก “จากสถิติความย้อนแย้ง…”
๑ ผิด เพราะถ้าเข้าใจดี คงไม่ต้องเชิญชวน
๒ และ ๔ ผิด สังเกตจาก “แต่เพราะข้อจำกัดทางกฎหมายที่อนุญาตให้แพทย์ตัดสินใจทำแท้งได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น ได้แก่ กรณีปัญหาสุขภาพของมารดาและทารก และกรณีการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการข่มขืน”
๕ ผิด ที่เสียชีวิตเพราะต้องลักลอบทำแท้ง จึงไม่สามาถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยได้
๔๖) เฉลย ตอบ ๕ การทบทวนเรื่องการทำแท้งปลอดภัย
สังเกตจาก “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันมาทำความเข้าใจ…”
๔๗) เฉลย ตอบ ๕ เชิญชวน
สังเกตจาก “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันมาทำความเข้าใจ…”
๔๘) เฉลย ตอบ ๓ การทักเรื่องรูปลักษณ์ที่ทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ
๑ ผิด เพราะพูดถึงเฉพาะการทักทายเรื่องรูปลักษณ์
๒ ผิด เพราะไม่ได้ถูกถึงการแตะต้องร่างกายจริง ๆ
๔ ผิด เพราะไม่ได้เน้นเรื่อง “ความงามในอุดมคติ”
๕ ผิด เพราะเฉพาะการทักทายเรื่องรูปลักษณ์
๔๙) เฉลย ตอบ ๓ วิธีการแก้นิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง
สังเกตจากประโยค “...จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนชอบผัดวันประกันพรุ่งสามารถเอาชนะตนเองและทำงานให้สำเร็จทันเวลาได้”
๕๐) เฉลย ตอบ ๒ แนะนำ
เป็นข้อเขียนแนะนำวิธีการ
สังเกตจากประโยค “...จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนชอบผัดวันประกันพรุ่งสามารถเอาชนะตนเองและทำงานให้สำเร็จทันเวลาได้”