10 มีนาคม 2022
1.ตอบ 3 อธิปัญญาสิกขา
- พระบรมราโชวาทข้างต้นมีสาระสำคัญเกี่ยวกับวิธีการศึกษาเรื่องปัญญา สังเกต keyword คำว่า “ความรู้” ที่เน้นย้ำบ่อย ๆ
- ข้อ 3 อธิปัญญาสิกขา คือ การศึกษาในเรื่องปัญญา การพัฒนาปัญญา (ความรู้)
- ดังนั้น จากโจทย์เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปัญญาตรงกับข้อ 3 อธิปัญญาสิกขา เป็นการศึกษาขั้นสูงสุดที่มุ่งพัฒนาให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่สามารถมองดู รู้จัก และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพที่เป็นจริง จึงตอบข้อ 3 ตรงกับหลักธรรมมากที่สุด
ส่วนข้ออื่น ๆ มีความหมาย ดังนี้
ข้อ 1 อธิสีลสิกขา คือ การศึกษาในเรื่องศีล
ข้อ 2 อธิจิตตสิกขา คือ การศึกษาในเรื่องจิต
ข้อ 4 สีลสามัญญตา คือ การเป็นผู้มีศีลหรือมีความประพฤติเสมอภาคกัน
ข้อ 5 สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
2.ตอบ 3 อิทธิบาท 4 อริยสัจ 4
- การทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ดี = ยึดหลักอิทธิบาท 4
- การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง = ยึดมรรคมีองค์ 8 ในหลักอริยสัจ 4
คําอธิบายเพิ่มเติม
- อิทธิบาท 4 คือ ธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
- อริยสัจ 4 คือ หลักความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
- สังคหวัตถุ 4 คือ ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
- วุฒิธรรม 4 คือ ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ได้แก่ สัปปุริสสังเสวะ สัทธัมมัสสวนะ โยนิโสมนสิการะ
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
- สติปัฏฐาน 4 คือ ข้อปฏิบัติที่มีสติเป็นที่ตั้ง ได้แก่ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
- ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไป 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
- พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
3.ตอบ 1 สมชีวิตา
- ใจความสำคัญข้างต้น เป็นการกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการดำรงชีพที่เหมาะสมพอดี รู้จักใช้จ่าย จ่ายในสิ่งที่ควรจ่าย ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด
- ข้อ 1 สมชีวิตา สอดคล้อง เพราะหมายถึงมีความเป็นอยู่เหมาะสม หรือการเลี้ยงชีวิตที่เหมาะสมพอดี รู้จักวางแผนรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย มีประหยัดเก็บไว้ เกี่ยวกับหลักปฏิบัติที่อำนวยประโยชน์สุขในขั้นต้น (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4)
- ข้อ 2 วิธูโร ไม่สอดคล้อง เพราะหมายถึงรู้จักแหล่งซื้อแหล่งขายรู้ รู้ความต้องการของตลาด เกี่ยวกับหลักการในการค้าขายของพ่อค้าแม่ค้า (ปาปณิกธรรม 3)
- ข้อ 3 สัทธาสัมปทา ไม่สอดคล้อง เพราะหมายถึงการมีศรัทธาความเชื่อที่ถูกต้อง เชื่อเรื่องของกรรม เกี่ยวกับหลักปฏิบัติเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ในภายหน้า (สัมปรายิกัตถะ 4)
- ข้อ 4 สมานัตตตา ไม่สอดคล้อง เพราะหมายถึงการรู้จักวางตนเสมอต้นเสมอปลาย เข้ากับผู้อื่นได้ดี ไม่เย่อหยิ่ง เกี่ยวกับหลักในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น (สังคหวัตถุ 4)
- ข้อ 5 ถีนมิทธะ ไม่สอดคล้อง เพราะหมายถึงความหดหู่ ท้อแท้ หมดหวัง เกี่ยวกับสิ่งที่ปิดกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม (นิวรณ์ 5)
4.ตอบ 2 สังคหวัตถุ 4
2. ไม่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะสังคหวัตถุ 4 : หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี
เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถ
จริยา สมานัตตา ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงน้อยที่สุด ไม่เหมือนข้ออื่นๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้
ตามความหมายแต่ละหลักธรรม
1. โภควิภาค 4 : หลักการแบ่งทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วนใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง
และทำประโยชน์ 2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน อีก 1 ส่วนเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
3. สมชีวิตา : ความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี
4. ธัมมัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
5. มัชฌิมาปฏิปทา : ทางสายกลาง
5.ตอบ 4 มโนสุจริต
4. มโนสุจริต : ความสุจริตทางใจ ได้แก่ 1. อนภิชฌา (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น) 2. อพยาบาท (ไม่พยาบาท
ปองร้ายผู้อื่น) 3. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบตามคลองธรรม) ซึ่งตรงกับหลักธรรมข้อนี้ จึงตอบข้อ 4 ถูกต้องมากสุด
- ตัดข้อ 2 เมตตากรุณากับข้อ 5 สาราณียธรรม เพราะไม่เกี่ยวข้องสุด
คำอธิบายเพิ่มเติม
1. พระสัทธรรม : ธรรมอันดี เพื่อพัฒนาตนให้เป็นคนดี ได้แก่ 1. ปริยัติ (คําสอนที่ต้องศึกษาเล่าเรียน)
2. ปฏิบัติ (คำสอนที่ต้องลงมือปฏิบัติ) 3. ปฏิเวธ (ผลที่ได้จากการปฏิบัติ)
2. เมตตากรุณา : ความรักใคร่ ความสงสาร
3. กุศลวิตก : ความนึกคิดสิ่งที่ดีงาม ได้แก่ 1. เนกขัมมวิตก (ความนึกคิดปลอดจากกาม) 2. อพยาบาทวิตก
(ความนึกคิดปลอดจากพยาบาท) 3. อวิหิงสาวิตก (ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน)
5. สาราณียธรรม : ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน มีความสามัคคีกัน
6.ตอบ 5 วันเทโวโรหณะ ได้ชื่อว่าเป็น “วันพระเจ้าเปิดโลก”
5 ถูกต้อง วันเทโวโรหณะ ได้ชื่อว่าเป็น “วันพระเจ้าเปิดโลก”
- ในวันนี้เป็นการเปิดโลกทั้ง 3 ได้เห็นกัน คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ที่เกิดในนรก จึงเรียกว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก”
- ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังวันออกพรรษา 1 วัน นิยมกันคือตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นการรับเสด็จพระพุทธเจ้าด้วย
1 ผิด เพราะ องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชา ไม่ใช่ วันอาสาฬหบูชาเป็น “วันสันติภาพโลก”
2 ผิด เพราะ สัมพุทธชยันตี เป็นเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนาเถรวาทที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา ไม่ใช่ วันอัฏฐมีบูชา
3 ผิด เพราะ ประเทศไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ไม่ใช่ วันวิสาขบูชาเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ”
4 ผิด เพราะ วันมาฆบูชาถือเป็นวันพระธรรม ไม่ใช่ วันพระสงฆ์
7.ตอบ 2 อุทธัจจะกุกกุจจะ
2. ถูกต้อง เพราะอุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ฟุ้งซ่าน กระวนกระวายใจ รำคาญใจ ตรงกับอาการดังกล่าว
จึงตอบข้อ 2
ส่วนข้ออื่น ๆ ในนิวรณ์ 5 ไม่ถูกต้อง เพราะมีความหมาย ดังนี้
1. ถีนมิทธะ คือ หดหู่ เซื่องซึม
3. พยาบาท คือ คิดร้าย เคืองแค้น
4. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย
5. กามฉันทะ คือ ความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
8.ตอบ 4 ซะกาต ถือเป็นการบริจาคแก่ผู้จากไร้ เมื่อมีจำนวนเงินถึงกำหนดและต้องบริจาค ร้อยละ 2.5
4. ถูกต้องที่สุด เพราะการซะกาต สอนให้รู้จักการแบ่งปัน โดยการบริจาค สามารถมีหลายแบบ เช่น ซะกาตข้าวสาร ซะกาตเงินเมื่อพร้อมและบริจาคร้อยละ 2.5
1. ผิด เพราะการปฏิญาณตน ถือเป็นหลักปฏิบัติที่ต้องกระทำทุกคน โดยไม่มีข้อยกเว้น
2. ผิด เพราะ “การละหมาด” ไม่ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญที่สุด
- หัวใจสำคัญที่สุดของการเป็นมุสลิมคือ “การปฏิญาณตน”
3. ผิด เพราะการถือศีลอด สามารถมีผู้ที่ได้รับการยกเว้นได้ เช่น นักรบปกป้องศาสนา ผู้ป่วย หญิงมีครรภ์
5. ผิด เพราะ พิธีฮัจญ์ ไม่ได้บังคับให้กระทำทุกคน ให้กระทำเฉพาะมุสลิมที่มีความพร้อมหรือมีความสามารถ
9.ตอบ 1 ศีลแก้บาป เป็นศีลที่ทำให้บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จากบาปกำเนิดและเป็นคริสต์ศาสนิกชน
1. ผิด เพราะ ศีลแก้บาป ไม่ใช่เป็นศีลที่ทำให้บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จากบาปกำเนิดและเป็นคริสต์ศาสนิกชน ต้องแก้เป็น ศีลล้างบาป เป็นศีลที่ทำให้บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จากบาปกำเนิดและเป็นคริสต์ศาสนิกชน
4. ศีลบัพติศมา คือ ศีลล้างบาป เพื่อล้างบาปกำเนิดหรือให้หมดบาปที่ติดตัวมาจากบรรพบุรุษ - ศีลล้างบาป -
- ศีลล้างบาป ถือเป็นพิธีกรรมแรกสุด เพื่อเป็นคริสต์ศาสนิกชน
- ศีลล้างบาป คือศีลเดียวกับ ศีลจุ่ม หรือ ศีลบัพติศมา
10.ตอบ 3 วายเมเถว ปุริโส ยาว อุตฺถสฺส นิปฺปทา
- ข้อ 3 วายเมเถว ปุริโส ยาว อุตฺถสฺส นิปฺปทา แปลว่าเกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
- ข้อ 3 จึงเหมาะสมที่สุด เพราะต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ตามความต้องการ ควรมีความเพียรพยายาม
- ระวัง !! โดนโจทย์หลอกคำว่าบัณฑิต ซึ่งโจทย์ไม่ได้เน้นเรื่องการแสดงอาการขึ้น ๆ ลง ๆ จึงไม่ตอบตัวเลือกข้อ 5
- ข้อ 1 ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฐาตา วินฺทเต ธนํ แปลว่า คนขยันเอาการเอางาน ย่อมหาทรัพย์ได้
- ข้อ 2 สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ แปลว่า ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
- ข้อ 4 อิณาทานํ ทุกขํ โลเก แปลว่า การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
- ข้อ 5 น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ แปลว่า บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้น ๆ ลง ๆ
11.ตอบ 4 การมีค่านิยมเพื่อความร่ำรวยในการแสวงหาทรัพย์สิน
- ข้อ 4 เพราะค่านิยมเพื่อความร่ำรวยในการแสวงหาทรัพย์สิน ไม่ได้อยู่การจัดระเบียบทางสังคม
- ระวัง !! ดูแต่คำว่า ค่านิยมอย่างไม่ได้ ต้องดูบริบทด้วย เพราะบางคนจะคิดว่าค่านิยมถือว่าเป็นการจัดระเบียบเรียบสังคม แต่จริง ๆ แล้วสังคมไทย เน้นค่านิยมของความประหยัด อดออม ไม่ได้หาทรัพย์เพื่อความมั่งคั่งจึงไม่ใช่การจัดการระเบียบสังคม
- ข้อ 1 ถูกต้อง การใส่ชุดดำไปงานศพ ถือเป็นวิถีชาวบ้าน
- ข้อ 2 ถูกต้อง การที่บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ถือเป็นจารีตในสังคมไทยและเป็นไปตามกฎหมายไทย
- ข้อ 3 ถูกต้องการที่นายจ้างไม่ละเมิดตามกฎหมายต่อลูกจ้าง ถือเป็นกฎหมาย
- ข้อ 5 ถูกต้อง การแต่งกายอย่างเรียบร้อยในขณะทำบุญใส่บาตร ถือเป็นวิถีชาวบ้าน
12.ตอบ 3 แดงยอมละทิ้งอัตลักษณ์เดิมของตนเองเพื่อปรับตัวทางวัฒนธรรมให้อยู่ร่วมในสังคมที่มีความหลากหลาย
- ข้อ 3 ผิด เพราะไม่ควรละทิ้งอัตลักษณ์ (ตัวตน) ของตน
- ควรจะรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ จะถูกต้องกว่า
13.ตอบ 1 หลงใหลวัฒนธรรม ตามค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นลักษณะชาตินิยม
ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง เพราะค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นลักษณะชาตินิยมแบบหลงใหลวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นโทษมากกว่า เพราะจะทำให้เกิดการแตกแยกและทำลายล้างมากกว่าการสร้างสรรค์
14.ตอบ 3 รีดเอาทรัพย์
1. ชิงทรัพย์ คือ การลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลัง
ประทุษร้าย
2. ปล้นทรัพย์ คือ การชิงทรัพย์ที่ร่วมกันกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
3. รีดเอาทรัพย์ คือ การข่มขืนใจผู้อื่นให้มอบทรัพย์สินให้แก่ตน โดยขู่ว่าจะเปิดเผยความลับ
ซึ่งทำให้เจ้าของทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
4. กรรโชกทรัพย์ คือ การข่มขู่ผู้อื่นให้มอบทรัพย์สินให้แก่ตน โดยขู่ว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย เสรีภาพ หรือชื่อเสียง
5. ยักยอกทรัพย์ คือ ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงตรงกับข้อ 3 รีดเอาทรัพย์ เพราะนายดำขู่ว่าจะเปิดเผยความลับ ซึ่งทำให้นางสาวแดงได้รับความเสียหาย keyword คือ ขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ
15.ตอบ 3 อสังหาริมทรัพย์ประเภทอันติดอยู่กับที่ดิน
- มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทอันติดอยู่กับที่ดิน เช่นเดียวกับบ้าน และโรงเรือน
16.ตอบ 5 ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล และห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
- ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา มี 4 ประการ คือ
- กฎหมายอาญาต้องชัดเจน
- ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
- ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
- กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
17.ตอบ 2 สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี บราซิล
- รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลเพียงชุดเดียว คือ รัฐบาลกลางทำหน้าที่ปกครองทั่วประเทศ
- รัฐรวม หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาล 2 ชุด คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีอำนาจเฉพาะท้องถิ่น
2. ถูกต้อง เพราะทุกประเทศมีรูปแบบรัฐ เป็นรัฐรวมทั้งหมด สวิตเซอร์แลนด์ = รัฐรวม,
เยอรมนี = รัฐรวม, บราซิล = รัฐรวม
1. ไม่ถูกต้อง เพราะไทย = รัฐเดี่ยว, ญี่ปุ่น = รัฐเดี่ยว, มาเลเซีย = รัฐรวม
3. ไม่ถูกต้อง เพราะฟิลิปปินส์ = รัฐเดี่ยว, มาเลเซีย = รัฐรวม, อินโดนีเซีย = รัฐเดี่ยว
4. ไม่ถูกต้อง เพราะออสเตรเลีย = รัฐรวม, นิวซีแลนด์ = รัฐเดี่ยว, แคนาดา = รัฐรวม
5. ไม่ถูกต้อง เพราะสหรัฐอเมริกา = รัฐรวม, รัสเซีย = รัฐรวม, สหราชอาณาจักร = รัฐเดี่ยว
18.ตอบ 4 สมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ
- ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย สอดคล้องกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า L'Etat, c'est moi ( I am the State )หรือรัฐคือองค์กษัตริย์เอง
- กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย จึงตอบข้อที่ 4
19.ตอบ 1 สภากรุงเทพมหานคร : ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ข้อ 1 สภากรุงเทพมหานคร : ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพกรุงเทพมหานคร เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- ถูกต้อง คือ สภากรุงเทพมหานคร : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
20.ตอบ 2 การมีช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
- จากคำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ที่ว่า ‘the government of the people, by the people and for the people’ การปกครองของปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน คือการปกครองเป็นประชาธิปไตย
- ปัจจัยสำคัญที่สุด หรือหัวใจ ในการพิจารณาว่า การปกครองประชาธิปไตย ต้องอยู่ที่ “ประชาชน” เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ข้อ 2 จึงถูกต้อง
21.ตอบ 4 ราคาขั้นต่ำจะถูกกำหนดไว้ ณ ระดับราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต
1. ผิด เพราะอุปสงค์ส่วนเกิน คือ ปริมาณอุปสงค์ที่มากกว่าปริมาณอุปทาน ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคา
ดุลยภาพ
2. ผิด เพราะการที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพจะส่งผลให้ราคาลดลง เพราะเกิดอุปทานส่วนเกิน
ไม่ใช่ราคาดุลยภาพลด
3. ผิด เพราะภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขาย
ไม่ใช่ราคาเสนอขาย
5. ผิด เพราะการกำหนดราคาขั้นสูงส่งผลให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน ไม่ใช่อุปทานส่วนเกิน
22.ตอบ 5 สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีลักษณะเป็นสหกรณ์อเนกประสงค์
- ข้อ 5 ถูกต้อง สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีลักษณะเป็นสหกรณ์อเนกประสงค์
- สหกรณ์อเนกประสงค์ คือ สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นโดยความสมัครใจของสมาชิกที่อยู่ในวงสัมพันธ์เดียวกัน เช่น ชุมชนเดียวกัน อาชีพเดียวกัน สถานที่เดียวกัน หรือมีกิจกรรมร่วมกัน
- สหกรณ์ประมง = อาชีพเดียวกัน
- สหกรณ์นิคม = สถานที่เดียวกัน
- สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน = ชุมชนเดียวกัน
- ดังนั้นสหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จึงมีลักษณะเป็นสหกรณ์อเนกประสงค์
- ข้อ 1 ผิด เพราะสหกรณ์นิคม ไม่ได้กิจกรรมคล้ายธนาคารพาณิชย์
- หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ เช่น รับฝากเงิน ให้กู้
- สหกรณ์ที่เป็นแหล่งรับฝากเงินและให้กู้ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์บริการ
- ข้อ 2 ผิด เพราะสหกรณ์ร้านค้าไม่มีส่วนให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกที่เดือดร้อน
- สหกรณ์ที่ไม่ให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก ได้แก่ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ
- ข้อ 3 ผิด เพราะสหกรณ์ต้องดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยและควบคุมการดำเนินงานโดยสมาชิก ไม่ใช่ ผู้จัดการสหกรณ์
- ข้อ 4 ผิด สหกรณ์เคหสถาน สหกรณ์แท็กซี่ สหกรณ์ผู้จัดหางานแห่งประเทศไทย เป็นประเภทสหกรณ์ที่เรียกว่า สหกรณ์บริการ ไม่ใช่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
- สหกรณ์บริการ คือ สหกรณ์ที่มีอาชีพเดียวกัน ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องเดียวกัน รวมตัวกัน เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
23.ตอบ 3 ทำให้มีความสามารถการแข่งขัน มุ่งที่การเพิ่มรายได้
3. ไม่ใช่คุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
- เพราะด้านเศรษฐกิจ ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ที่ไม่ได้เน้น
การแข่งขันหรือการเพิ่มรายได้
24.ตอบ 2 2,500
- สูตร GNP = GDP + รายได้สุทธิต่างประเทศ
- GNP = 3,000 - 500 = 2,500
- คิดแค่สองตัว คือ GDP กับ รายได้สุทธิต่างประเทศ
- ส่วนข้อมูลอื่น ๆ เป็นเพียงตัวหลอก
25.ตอบ 1 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
- ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
- สินค้ามีลักษณะเหมือนกันมาก
- ผู้ผลิตสามารถเลิกล้มกิจการได้โดยง่ายและผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่าย
- สินค้าสามารถโยกย้ายไม่ยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้เต็มที่
- ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเป็นที่เปิดเผยโดยทั่วไป
- ดังนั้นจึงตรงกับลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตอบข้อ 1
26.ตอบ 2 งบประมาณแบบขาดดุล
- เพราะภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือถูกกดดันจากภาวะเงินฝืด = เศรษฐกิจตกต่ำ
- รัฐบาลต้อง “กระตุ้น” เศรษฐกิจโดยการพิ่มรายจ่ายของภาครัฐให้มากขึ้น และลดรายได้ภาครัฐให้น้อยลง เพื่อทำให้ปริมาณเงินในมือประชาชนเพิ่มขึ้น นั่นคือ งบประมาณแบบขาดดุล
- รายได้รัฐ < รายจ่ายรัฐ = งบประมาณขาดดุล
27.ตอบ 1 เพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
- ข้อ 1 เพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้
- กรณีเงินเฟ้อ รัฐบาลควรใช้งบประมาณแบบเกินดุล โดยลดการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่เพิ่มรายได้ของรัฐบาล โดยการเก็บภาษีให้มากขึ้น เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์ ลดการขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดปริมาณเงินในมือประชาชนให้น้อยลง
- รายได้รัฐ > รายจ่ายรัฐ = งบประมาณเกินดุล
28.ตอบ 1 เพิ่มการปล่อยสินเชื่อ
- น้อง ๆ ต้องอ่านโจทย์ดี ๆ ว่าโจทย์ถามถึงนโนบายการเงินหรือนโยบายการคลัง ซึ่งข้อนี้โจทย์ถามถึงนโยบายการเงิน
- เทคนิค ถ้ากล่าวถึงนโยบายการคลัง ตัดตัวเลือกทิ้งออกก่อนเลย ข้อนี้สามารถตัดตัวเลือกข้อ 3 กับ ข้อ 5 เพราะอัตราภาษี และการใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นนโยบายการคลัง แต่โจทย์ถามนโยบายการเงิน
- ข้อ 1 เพิ่มการปล่อยสินเชื่อ ข้อนี้ถูกต้อง เพราะเป็นนโยการเงิน ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
- ข้อ 2 เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ผิด ต้องลดอัตราดอกเบี้ย
- ข้อ 3 ลดการเก็บภาษี ผิด เพราะโจทย์ถามนโยบายการเงิน ไม่ใช่นโยบายการคลัง
- ข้อ 4 เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย ผิด ลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
- ข้อ 5 เพิ่มการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ผิด เพราะโจทย์ถามนโยบายการเงิน ไม่ใช่นโยบายการคลัง
29.ตอบ 4 อังค์ถัด (UNCTAD) มีหน้าที่หลักเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา
ข้อ 4 ถูกต้อง เพราะอังค์ถัด (UNCTAD) มีหน้าที่หลักเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา
- ข้อ 1 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีหน้าที่หลักให้เงินกู้ช่วยเหลือไปใช้จ่ายพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนา ผิด ควรเป็นธนาคารโลก
- ข้อ 2 อังค์ถัด (UNCTAD) มีหน้าที่หลักแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ผิด ไม่ได้แก้ไขปัญหาความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
- ข้อ 3 ธนาคารโลก (World Bank) มีหน้าที่หลักดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศ ผิด ควรเป็นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
- ข้อ 5 องค์การค้าโลก (WTO) มีหน้าที่หลักเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของทุกชาติ สร้างความเป็นธรรมทางการค้า ผิด ไม่ได้เสริมสร้างความมั่งคั่งหรือความร่ำรวย
30.ตอบ 5 สหภาพเศรษฐกิจ
- น้อง ๆ ต้องรู้ก่อนว่ารูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจมี 5 รูปแบบ ดังนี้
- ขั้น 1 เขตการค้าเสรี : เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการปลอดภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก
- ขั้น 2 สหภาพศุลกากร : เหมือนเขตการค้าเสรี แต่ประเทศสมาชิกจะร่วมกันกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกันสำหรับสินค้าเข้าจากประเทศนอกกลุ่มในมาตราฐานเดียวกัน
- ขั้น 3 ตลาดร่วม : เหมือนสหภาพศุลกากร แต่เพิ่มเติมคือ ให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรี เช่น แรงงานและทุน
- ขั้น 4 สหภาพเศรษฐกิจ : เหมือนตลาดร่วม แต่เพิ่มเติมคือ ให้ประเทศสมาชิกร่วมกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในรูปแบบเดียวกัน เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การลงทุน การค้ากับต่างประเทศ รวมถึงนโยบายการขนส่งระหว่างประเทศ
- ขั้น 5 สหภาพเหนือชาติ : เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขั้นสูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกันเป็นชาติเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศไม่สามารถกำหนดนโยบายของตนเองได้ แต่สหภาพจะกำหนดนโยบายให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเอง = ตัวเลือกข้อ 2 ตัดทิ้ง เพราะไม่มีพูดถึงลักษณะนี้
- จากนั้นพิจารณาจากลักษณะที่ให้มา ดังนี้
- ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ เช่น การเงิน การค้ากับต่างประเทศ การลงทุน ให้เป็นแนวเดียวกัน = ขั้น 4 สหภาพเศรษฐกิจ
- ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน = ขั้น 2 สหภาพศุลกากร
- มีการอนุญาตให้เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรี = ขั้น 3 ตลาดร่วม
- ดังนั้น ลักษณะดังกล่าวตรงกับรูปแบบสหภาพเศรษฐกิจ ในขั้นที่ 4 สหภาพเศรษฐกิจ เพราะได้พูดถึงประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ให้เป็นแนวเดียวกัน ซึ่งขั้น 1-3 จะไม่มีลักษณะนี้
31.ตอบ 5 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
- ข้อ 5 เพราะพระราชพงศาวดารมีจุดเน้นอยู่ที่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ตามลำดับเหตุการณ์
- ดังนั้นพระราชพงศาวดารให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ไว้มากกว่าหลักฐานอื่น จึงตอบข้อ 5 ดีที่สุด
- ส่วน ข้อ 2 กับ ข้อ 3 จดหมายเหตุ บันทึกเหตุการณ์สำคัญเป็นรายวันตามลำดับทั้งปี วันไหนไม่มีเหตุการณ์สำคัญก็จะปล่อยบันทึกว่างไว้
- หลักฐานประเภทนี้จะบอกเพียงว่าเกิดขึ้นอะไรขึ้นและเกิดขึ้นเมื่อไรเท่านั้น ไม่บอกรายละเอียดของเหตุการณ์
- ข้อ 1 ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นตำนานในสมัยล้านนา
- ข้อ 4 จัดเป็นบันทึกของบุคคล ยังไม่เด่นชัดเท่ากับข้อ 5
32.ตอบ 2 วัดเทพปราสาทศิลาแลง จังหวัดเพชรบุรี
- ละโว้ = ศิลปะลพบุรี
- ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร
- ลักษณะสำคัญ คือ การสร้างศาสนสถานไว้ที่ศูนย์กลางเมือง
- มีการขุดสระ หรือบาราย
- สิ่งก่อสร้างที่เป็นประธานของศาสนสถาน ได้แก่ ปราสาทหรือปรางค์
- Keyword ตัวเลือกข้อนี้ดูที่ ปราสาท
- ดังนั้นตอบข้อ 2 วัดเทพปราสาทศิลาแลง หรือวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี เป็นปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมร ภายหลังวัดกำแพงแลงได้ตั้งเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเทพปราสาทศิลาแลง
- ข้อ 1 ธรรมจักรกับกวางหมอบ จารึกคาถา “เย ธมฺมา” = ทวารวดี
- ข้อ 2 วัดเทพปราสาทศิลาแลง จังหวัดเพชรบุรี = ละโว้
- ข้อ 3 พระพุทธรูป ที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี = ทวารวดี
- ข้อ 4 เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม =ทวารวดี
- ข้อ 5 พระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน = หริภุญชัย
- ทวารวดี นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลัก
- ผลงานศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ ธรรมจักรกับกวางหมอบ จารึกคาถา “เย ธมฺมา” และสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่
33.ตอบ 1 การให้ประชาชนเลือกผู้ใหญ่บ้าน
- ข้อ 1 ถูกต้อง การให้ประชาชนเลือกผู้ใหญ่บ้าน เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล
- ข้อ 2 การเกิดกบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
- ระวัง !! สับสนกับการเสนอและการเรียกร้องให้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรับกาลที่ 5
- ข้อ 3 การตั้งกระทรวงทหารเรือ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
- ส่วน ร.5 จัดตั้งกระทรวงครั้งแรก 12 กระทรวง โดยไม่มีกระทรวงทหารเรือ เพราะเพิ่งจัดตั้งภายหลังในสมัย ร.6
- ข้อ 4 การรวมเขตการปกครองมณฑลขึ้นเป็น “ภาค” เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
- ส่วน ร.5 จัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล ยังไม่มี”ภาค” เพราะเปลี่ยนแปลงในสมัย ร.6
- ข้อ 5 การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
34.ตอบ 5 การกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย : จอมพล ป พิบูลสงคราม
- ข้อ 5 ไม่ถูกต้อง เพราะ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์
- ในสมัยของท่านเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับแรก พ.ศ.2504
35.ตอบ 2 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
- ข้อ 2 ตรงกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในสมัยนั้นการบริหารประเทศมีธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 ซึ่งมีมาตรา 17 ที่ให้อำนาจเด็ดขาดแก่นายกรัฐมนตรีอย่างมาก โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีมาตราน้อยที่สุด เพียง 20 มาตรา
- รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้ระบบเผด็จการทางทหาร
- ถือเป็น “ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ”
36.ตอบ 4 ประเทศฟิลิปปินส์
- กลุ่มก่อการร้ายอาบู ไซยาฟ (Abu Sayyaf) เป็นภัยคุกคามของประเทศฟิลิปปินส์
- เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมอิสลามกลุ่มหนึ่งทางภาคใต้ ได้แก่ โกโล บาซีลัน และมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ ที่ต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามแยกออกจากฟิลิปปินส์ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์
37.ตอบ 2 มนุษย์ในยุคหินใหม่อาศัยรวมกันเป็นชุมชนเมือง และดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
- ข้อ 2 ผิด เพราะมนุษย์ในยุคหินใหม่อาศัยรวมกันเป็นหมู่บ้าน เป็นสังคมเกษตรกรรม ไม่ใช่ อาศัยรวมกันเป็นชุมชนเมือง
- ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนเป็นเป็นชุมชนเมือง เกิดขึ้นในยุคโลหะ
38.ตอบ 3 การยุติสงครามครูเสด กับ การทำสนธิสัญญาสันติภาพเอากส์บูร์ก (Peace of Augsburg)
- ข้อ 3 ผิด เพราะ การยุติสงครามครูเสด ไม่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาสันติภาพเอากส์บูร์ก (Peace of Augsburg)
- สนธิสัญญาสันติภาพเอากส์บูร์ก (Peace of Augsburg) เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนา กล่าวคือ พวกเจ้านายในเยอรมันแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางเหนือ สนับสนุนมาร์ติน ลูเทอร์ กับฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางใต้ ซึ่งสนับสนุนคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่กรุงโรม ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นใน ค.ศ. 1546
- ในที่สุดมีการสงบศึก โดยการทำสนธิสัญญาสันติภาพเอากส์บูร์ก (Peace of Augsburg) โดยให้เจ้าชายเยอรมันและแคว้นของพระองค์มีสิทธิที่จะเลือกนับถือนิกายลูเทอร์หรือนิกายโรมันคาทอลิกก็ได้
39.ตอบ 4 การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เป็นผลกระทบสำคัญจากลัทธิจักรวรรดินิยม
4. ผิด เพราะการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น สามัญชน
เรียกร้องให้ยกเลิกระบบอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง ได้รับอิทธิพลการเรียกร้องประชาธิปไตยของอังกฤษและ
อเมริกา แต่ไม่เกี่ยวข้องกับผลจากลัทธิจักรวรรดินิยม
ส่วนข้ออื่น ๆ ถูกต้อง จึงตอบข้อ 4 ดีที่สุด
1. ถูก เพราะการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษทำให้กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย เป็นการสิ้นสุดระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษ ก็คือเข้าสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
2. ถูก เพราะ รัฐสภาของอังกฤษเริ่มมีอำนาจปกครองแทนที่สถาบันกษัตริย์ เมื่ออังกฤษมีการปฏิวัติอัน
รุ่งโรจน์ และมีการประกาศว่าด้วยสิทธิ (Bill of Rights)
ระวังสับสน กับกฎบัตรแมกนา การ์ตา (Magna Carta) ที่เป็นการจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์เป็นครั้งแรก
และเป็นจุดเริ่มของระบบรัฐสภาในอังกฤษเท่านั้น
3. ถูก เป็นการปฏิวัติเพื่อเอกราชของอเมริกา
5. ถูก เพราะชาวฝรั่งเศสได้รับแรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวที่เข้าไปช่วยสหรัฐอเมริการบในสงคราม
ประกาศอิสรภาพ จึงต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยบ้าง
40.ตอบ 4 การทำลายกำแพงเบอร์ลินถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น
- ข้อ 4 ผิด เพราะ การทำลายกำแพงเบอร์ลินยังไม่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น
- ต้องเป็น การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ที่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น
41.ตอบ 4 1 : 250,000
สูตรคำนวณมาตราส่วนแผนที่ = ระยะทางในแผนที่
ระยะทางจริงในภูมิประเทศ
- ต้องทำหน่วยที่นำมาคำนวณเป็นเซนติเมตรก่อนทุกครั้ง
1 กิโลเมตร = 100,000 เซนติเมตร
10.8 ก.ม. เปลี่ยนให้เป็นเซนติเมตร ได้เป็น 10.8 คูณ 100,000 = 1,080,000 เซนติเมตร
- แทนค่าสูตร
1 = ระยะทางในแผนที่ (4.32 เซนติเมตร)
มาตราส่วนแผนที่ ระยะทางจริงในภูมิประเทศ ( 1,080,000 เซนติเมตร)
มาตราส่วนแผนที่ = 1,080,000
4.32
= 250,000
- ดังนั้น มาตราส่วนแผนที่ฉบับนี้ 1 : 250,000
42.ตอบ 1 S 45 องศา W
- อะซิมัท (Azimuth) คือ มุมที่วัดจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกายังทิศเป้าหมาย
- ดังนั้นมุมที่วัดได้จะมีค่าไม่เกิน 360 องศา
- ส่วนแบริ่ง (Bearing) คือ การบอกทิศทางเป็นค่ามุมในแนวนาบ ซึ่งวัดจากทิศเหนือเป็นหลักไปยังแนวเป้าหมายในทิศทางตะวันออกหรือตะวันตก หรือวัดจากแนวทิศใต้หลักไปยังแนวเป้าหมายทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก
- ดังนั้นขนาดของมุมแบริ่งจะมีค่าไม่เกิน 90 องศา
- มุมแอซิมัทจากทิศเหนือจริงไปทางตะวันออกได้ 225 องศา
- คือ มุมแบริ่งใต้ 45 องศาตะวันตก ( S 45 องศา W)
43.ตอบ 4 วันที่ซีกโลกเหนือมีเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน และซีกโลกใต้มีเวลากลางคืนยาวกว่ากลางวัน
- วันอุตตรายันหรือครีษมายัน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน คือ วันที่แสงพระอาทิตย์จะตั้งฉากที่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทำให้ซีกโลกเหนือมีเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน และซีกโลกใต้มีเวลากลางคืนยาวกว่ากลางวัน
- นอกจากนี้ทำให้พื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle) ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 24 ชั่วโมง เช่น ประเทศนอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดนเป็นต้น
- ข้อ 4 วันที่ซีกโลกเหนือมีเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน และซีกโลกใต้มีเวลากลางคืนยาวกว่ากลางวัน คือ วันอุตตรายัน จึงถูกต้อง
- ข้อ 1 ผิด เพราะ วันที่แสงพระอาทิตย์ตั้งฉากที่เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือวันวิษุวัต
- ข้อ 2 ผิด เพราะ วันที่ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือ วันวิษุวัต
- ข้อ 3 ผิด เพราะ วันที่แสงพระอาทิตย์จะตั้งฉากที่เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น คือ วันทักษิณายันหรือเหมายัน ส่วนวันที่แสงพระอาทิตย์จะตั้งฉากที่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ คือ วันอุตตรายัน แต่โจทย์ถามเฉพาะวันอุตตรายัน จึงไม่ถูกต้องทั้งหมด
- ข้อ 5 ผิด เพราะ วันที่ซีกโลกเหนือมีเวลากลางคืนยาวกว่ากลางวัน และทวีปแอนตาร์กติกาจะได้เห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์ คือ วันทักษิณายันหรือเหมายัน
44.ตอบ 2 พายุหมุนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- ข้อ 2 ผิด เพราะพายุหมุนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมาจากทิศทางตะวันออก ไม่ใช่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- ส่วนข้ออื่นๆ กล่าวถูกต้องทั้งหมด
45.ตอบ 5 การที่มีสารปนเปื้อนตกค้างเมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้าง
- ปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศจำนวนมาก
- ข้อ 5 ไม่ได้เกี่ยวกับการเกิดภาวะเรือนกระจก เพราะยังไม่ชัดเจนและครอบคลุมถึงการเกิดของภาวะเรือนกระจก
- ส่วนข้ออื่นๆ เกี่ยวข้องเพราะมาจากก๊าซเรือนกระจก
- สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ถ่านหิน น้ำมัน การเผาไหม้ทำลายป่า
- มีเทน (CH4) เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ
- คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) สารประกอบสำหรับทำความเย็น
- ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ ปุ๋ย การทำลายป่า
- ข้อ2 ชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) กำลังละลาย ถูกต้อง เกี่ยวข้องเพราะการละลายของชั้นดินเยือกแข็งจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา จำพวกคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน
46.ตอบ 3 ทะเลสาบทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา
- ภูมิประเทศที่มีกระบวนการเกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งบริเวณที่ราบจนทำให้เป็นหลุด คือ ทะเลสาบธารน้ำแข็ง (glacial lake)
- พบได้ที่บริเวณทางตอนเหนือของประเทศแคนาดาและฟินแลนด์ข้อ 3 จึงถูกต้อง
- ข้อ 1 เนินทรายหรือสันทรายในเขตทะเลทรายคาลาฮารี = เกิดจากการกระทำของลม
- ข้อ 2 ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ = เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ
- ข้อ 4 ทะเลสาบแทนแกนยิกาในประเทศคองโก = เกิดจากแผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน เหมือนกับหุบเขาทรุด
- ข้อ 5 ที่ราบชายฝั่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ = เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำเป็นตัวพัดพาเศษวัตถุจากทะเล
47.ตอบ 5 การเกิดแผ่นดินไหวทำให้แผ่นดินถล่มมากขึ้น
- การเกิดแผ่นดินไหว เป็นธรณีภาคไม่เกี่ยวกับอากาศโดยตรง
- ส่วนตัวเลือกข้ออื่น ๆ เป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือจากภาวะโลกร้อนนั่นเอง
48.ตอบ 2 Greenpeace WWF FAE UNEP
2. ถูกทั้งหมด ที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม
O Greenpeace : องค์กรกรีนพีซ
O WWF : (World Wide Fund for Nature) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก
O FAE : (Friends of the Asian Elephant) มูลนิธิเพื่อนช้าง เพื่อช่วยเหลือช้างให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
O UNEP : (United Nations Environment Program) แผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม
1. ผิด UNHCR , WHO
3. ผิด UNICEF
4. ผิด UNHCR
5. ผิด UNICEF, UNESCO
O UNHCR : (United Nations High Commissioner for Refugees) ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
O WHO : (World Health Organization) องค์การอนามัยโลก
O UNICEF : (United Nations Children's Fund) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
O UNESCO : (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)
องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
49.ตอบ 3 กุหลาบ ไม่ทำลายถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ ตามอนุสัญญาไซเตส
- ข้อ 1 ชมผกา ไม่นำขยะปนเปื้อนสารเคมีจากต่างประเทศ ตามอนุสัญญาบาเซิล ถูกต้อง เพราะอนุสัญญาบาเซิลควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะอันตรายหรือขยะปนเปื้อนสารเคมี
- ข้อ 2 จำปา ไม่ทำลายดอนหอยหลอด จ.จังหวัดสมุทรสงคราม ตามอนุสัญญาแรมซาร์ ถูกต้อง เพราะดอนหอยหลอดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลลักษณะดิน เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำกลอง ข้อนี้ ระวัง !! ถ้าดูแต่คำว่า “หอยหลอด” แล้ววิเคราะห์ว่าเป็นสัตว์ แล้วจะตอบเป็นอนุสัญญาไซเตส จะไม่ถูกต้อง
- เพราะหอยหลอดไม่ได้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น Key คือ ดอนหอยหลอด >> เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ = อนุสัญญาแรมซาร์
- ข้อ 3 กุหลาบ ไม่ทำลายถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ ตามอนุสัญญาไซเตส ผิด เพราะถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ ต้องเป็นไปตามอนุสัญญาแรมซาร์ ระวังข้อนี้สับสนคำว่า นกน้ำ แล้วน้อง ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นสัตว์ แล้วจะตอบเป็นไซเตส ซึ่งข้อนี้ Keyword คือ “ถิ่นที่อยู่” ของนกน้ำ = อนุสัญญาแรมซาร์
- ข้อ 4 จำปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามพิธีสารเกียวโต ถูกต้อง
- ข้อ 5 ลำดวน ไม่ล่าปลาตะพัด ตามอนุสัญญาไซเตส ถูกต้อง เพราะปลาตะพัด เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ = อนุสัญญาไซเตส
50.ตอบ 3 โครงการบำบัดน้ำเสียด้วยบ่อบำบัดและวัชพืช แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
- การปลูกพืชหรือหญ้า เช่น หญ้าแฝกอินโดนีเซีย กก ธูปฤาษี หรือหญ้าที่เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งพืชเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำได้ดี
- โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย อันเนื่องมากจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการต้นแบบของการบำบัดน้ำเสียในชุมชน
- ใช้รูปแบบของบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัดน้ำเสีย โดยปลูกพืชดังกล่าวข้างต้น จึงตอบข้อ 3 ถูกต้องมากที่สุด
- ข้อ 1 โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย เป็นการใช้น้ำที่มีคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาหรือจากแหล่งน้ำภายนอก ไล่น้ำเสียตามคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ข้อนี้จึงผิด เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพืชดังกล่าว
- ข้อ 2 โครงการบึงมักกะสัน ไตธรรมชาติ และระบบสายลมแสงแดด เป็นการแก้ปัญหาน้ำเน่าที่บริเวณบึงมักกะสัน โดยใช้ผักตบชวามาช่วยดูดซับสารพิษและสิ่งสกปรกในบึง เพื่อให้น้ำสะอาดขึ้น โดยอาศัยระบบบำบัดที่เรียกว่า ระบบสายลมและแสงแดด เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติที่ใช้การทำงานของพืชน้ำ เช่น สาหร่ายกับแบคทีเรีย ผักตบชวา ในการแก้ปัญหา แต่ต้องควบคุมไม่ให้ปริมาณพืชน้ำเหล่านี้มีมากเกินไปเพราะจะบดบังแสงแดดที่ส่องลงมาในน้ำ ข้อนี้จึงผิด เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพืชดังกล่าว
- ข้อ 4 โครงการแก้มลิง เป็นโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ด้วยการขุดลอกคูคลองต่าง ๆ และสร้างอ่างเก็บน้ำ ข้อนี้จึงผิด เพราะไม่มีเกี่ยวกับพืชดังกล่าวเลย
- ข้อ 5 ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน เพราะหญ้าแฝกจะหยั่งลงไปในใต้ดินได้ลึก จึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำและดักตะกอนดิน
- หญ้าแฝกที่ช่วยป้องกันชะล้างพังทลายของดิน มี 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน และหญ้าแฝกหอม ตัวเลือกข้อ 5 ต้องระวัง เพราะเป็นเรื่องป้องกันของดิน แตกต่างจากข้อ 3 ที่เป็นการดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำได้ดี ข้อ 5 นี้จึงผิด เพราะไม่สอดคล้องได้ดีเท่าข้อ 3